วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเร็วหน่วยประมวลผลกลาง

                     กลไกการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วนๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น
                ในด้านความเร็วของซีพียูถูกกำหนดโดยปัจจัย 2 อย่าง ปัจจัยแรกคือ สถาปัตยกรรมภายในของซีพียูแต่ละรุ่น ซีพียูที่ได้รับการออกแบบภายในที่ดีกว่าก็มีประสิทธิภายในการประมวลผลที่ดีกว่า การพัฒนาทางด้านสถาปัตยกรรมก็มีส่วนทำให้ลักษณะของซีพีแตกต่างกันไป

                นอกจากนี้ อีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวกำหนดความเร็วของซีพียู คือ ความถี่ของสัญญาณนาฬิกา (clock) ซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่คอยกำหนดจังหวะการทำงานประสานของวงจรภายในให้สอดคล้องกัน ในอดีตสัญญาณดังกล่าวจะมีความถี่ในหน่วยเป็นเมกะเฮิรตซ์ (megahertz) หรือล้านครั้งต่อวินาที ดังนั้น สำหรับซีพียูที่มีสถาปัตยกรรมภายในเหมือนกันทุกประการ แต่ความถี่สัญญาณนาฬิกาต่างกัน ซีพียูตัวที่มีความถี่สัญญาณนาฬิกาสูงกว่าจะทำงานได้เร็วกว่า และซีพียูที่มีอยู่ในปัจจุบันมีความถี่ในระดับจิกะเฮิรตซ์

กระบวนการทำงาน

หน่วยประมวลผลกลางมีกระบวนการทำงานพื้นฐานอยู่ 5 อย่างคือ
F  อ่านชุดคำสั่ง (fetch)
F  ตีความชุดคำสั่ง (decode)
F  ประมวลผลชุดคำสั่ง (execute)
F  อ่านข้อมูลจากหน่วยความจำ (memory)
F  เขียนข้อมูล/ส่งผลการประมวลกลับ (write back)
                 หน่วยประมวลผลกลางเป็นวงจรไฟฟ้าหน่วยสำคัญที่ทำหน้าที่แตกต่างกัน 2 หน่วย ได้แก่ หน่วยควบคุม (Control Unit : CU) และหน่วยคำนวณและตรรกะหรือเอแอลยู (Arithmetic and Logic Unit : ALU)
F  1.หน่วยควบคุม
เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ประสานงาน และควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ หน่วยนี้ทำงานคล้ายกับสมองคนซึ่งควบคุมให้ระบบอวัยวะต่างๆ ของร่างกายทำงานประสานกัน นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ควบคุมให้อุปกรณ์รับข้อมูล ส่งข้อมูลไปที่หน่วยความจำ ติดต่อกับอุปกรณ์แสดงผลเพื่อสั่งให้นำข้อมูลจากหน่วยความจำไปยังอุปกรณ์แสดงผล โดยหน่วยควบคุมของคอมพิวเตอร์จะแปลความหมายของคำสั่งในโปรแกรมของผู้ใช้ และควบคุมให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ จากที่กล่าวมาสามารถเปรียบเทียบการทำงานของหน่วยควบคุมกับการทำงานของสมองได้ดังนี้
F  2.หน่วยคำนวนและตรรกะ
เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่คำนวณทางเลขคณิต ได้แก่ การบวก ลบ คูณ หารและเปรียบเทียบทางตรรกะเพื่อทำการตัดสินใจ เช่น ทำการเปรียบเทียบข้อมูล เพื่อตรวจสอบว่าปริมาณหนึ่ง น้อยกว่า เท่ากับ หรือมากกว่า อีกปริมาณหนึ่ง แล้วส่งผลการเปรียบเทียบว่าจริงหรือเท็จไปยังหน่วยความจำเพื่อทำงานต่อไป ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในเงื่อนไข การทำงานของเอแอลยูคือ รับข้อมูลจากหน่วยความจำมาไว้ในที่เก็บชั่วคราวของเอแอลยูซึ่งเรียกว่า เรจิสเตอร์ (register) เพื่อทำการคำนวณแล้วส่งผลลัพธ์กลับไปยังหน่วยความจำ ทั้งนี้ในการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ข้อมูลและคำสั่งจะอยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้าแล้วส่งไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านระบบส่งถ่ายข้อมูลผ่านในที่เรียกว่าบัส (bus)

ชนิดหน่วยประผลแบบต่างๆ

แบบที่ 1 ซ็อกเก็ต (Socket)
             ซีพียูประเภทนี้ จะบรรจุอยู่ในรูปแบบที่เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทำด้วยพลาสติกหรือเซรามิก หากมองด้านบนตัวของซีพียูจะพบตัวอักษรที่เป็นรายละเอียดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อ ,ความเร็ว , รุ่น , ค่าแรงไฟ , ค่าตัวคูณ และอีกหลายๆ อย่าง ซีพียูแบบซ็อกเก็ตจะมีการพัฒนาหลายๆแบบ หลายๆรุ่นด้วยกันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีรายละเอียดดังนี้ซีพียูของค่ายดังอย่างอินเทล จะมี รุ่นหลักๆ ได้แก่ 8086 , 8088 , 80286 , 80386 , 80486 , Pentium , Pentium MMX



แบบที่ 2 สล็อต (Slot)
           ซีพียูแบบนี้จะมีสถาปัตยกรรมที่ดูน่าเชื่อถือมาก เป็นการพัฒนาออกมาแบบแตกต่างจากซีพียูในอดีตโดยสิ้นเชิง มีลักษณะเป็นแผ่นวงจรสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ มีพลาสติกสีดำหุ้มห่อไว้เป็นตลับ ได้แก่ Pentium Celeron บางรุ่น , Pentium II , Pentium III บางรุ่นซีพียูของ ค่ายเอเอ็มดี ได้แก่ Athlon (K7)


ตำแหน่งของหน่วยประมวลผลกลาง

                  ซีพียูเป็นชิปตัวเล็กๆ รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และมีขาจำนวนมาก ถ้าลองสังเกตในเมนบอร์ด บริเวณตรงจุดที่มีพัดลม และแผ่นโลหะระบายความร้อน หรือ ฮีตซิงค์ ติดทับอยู่นั่นคือ ตำแหน่งของ “CPU” กล่าวคือ เมื่อเปิดฝาเคส จะเห็นว่าอุปกรณ์หลักๆ มีอยู่ไม่กี่ชิ้น แต่จะมีแผงวงจรหลายวงจร เรียกว่า “เมนบอร์ด” ซีพียูจะวางอยู่บนเมนบอร์ด ตรงที่มีพัดลมและแผ่นโลหะระบายความร้อน เรียกว่า ฮีตซิงค์ (Heatsink) วางทับอยู่ ส่วนนั้นคือ ซีพียู จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ทำมาจากวัสดุประเภทเซรามิค ภายในจะบรรจุด้วยวงจรทรานซิสเตอร์ ซึ่งมีขนาดเล็กเป็นล้านตัว ภายใต้ตัวซีพียู จะมีเหล็กแหลมๆ คล้ายกับเข็มเป็นจำนวนมากส่วนนี้เรียกว่า ขาของซีพียู ทำหน้าที่ส่งสัญญาณเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับอุปกรณ์ต่างๆ


  

ประเภทของหน่วยประมวลผลกลาง

                  ซีพียูของแต่ละบริษัท แต่ละรุ่นจะมีรูปร่าง    ลักษณะโครงสร้าง และจำนวนขาไม่เหมือนกัน  จากความแตกต่างกันนี้ ซีพียูแต่ละตัวจึงใช้เมนบอร์ดไม่เหมือนกัน ซึ่งในปัจจุบันนี้ซีพียู สำหรับเครื่องพีซี แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1ซีพียู แบบ Cartridge ซีพียูแบบนี้รูปร่างเป็นตลับแบนๆ ห่อหุ้มด้วยกล่องพลาสติกสี่เหลี่ยมด้านล่างจะเป็นแผงขาสัญญาณของซีพียู   สำหรับเสียบลงในช่องแบบ สล๊อต (Slot) ซีพียูแบบนี้มีชื่อเรียกกันโดยทั่วไปว่าแบบ “SECC” (Single Edde Connector Cartridge)  
2. ซีพียู แบบ PGA  ซีพียูแบบนี้รูปร่างเป็นชิปแบนๆ มีขาจำนวนมากอยู่ใต้ตัวซีพียู สำหรับเสียบลงในช็อกเก็ตจึงเรียก ว่า “PGA”

หน้าที่ของหน่วยประมวลผลกลาง

                หน่วยประมวลผลกลางมีหน้าที่ประมวลผลข้อมูลต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์  โดยหน่วยประมวลผลกลางจะทำงานตามโปรแกรมที่ระบุโดยผู้ใช้  ขั้นตอนการทำงานของหน่วยประมวลผลกลางมีลักษณะเป็นวงรอบ โดยขั้นแรกหน่วยประมวลผลกลางจะอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำ (fetch) จากนั้นหน่วยประมวลผลกลางจะตีความคำสั่งนั้น (decode)  และในขั้นตอนสุดท้ายหน่วยประมวลผลกลางก็จะประมวลผลตามคำสั่งที่อ่านเข้ามา (excute)  เมื่อทำงานเสร็จหน่วยประมวลผลก็จะเริ่มอ่านคำสั่งเข้ามาอีกครั้ง

            การทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยการคำนวณทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน เช่น การบวก ลบ คูณ หาร การเปรียบเทียบข้อมูลสองจำนวน การควบคุมการเคลื่อนย้ายข้อมูลในส่วนต่างๆ ของระบบ เช่น เคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์รับข้อมูล อุปกรณ์แสดงผลกับหน่วยความจำ เป็นต้น

โครงสร้างของหน่วยประมวลผลกลาง

 1. Bus Interface Unit เป็นหน่วยที่นำคำสั่งจากแรม มายังหน่วยพรีเฟตช์
 2. Prefetch Unit เป็นหน่วยเก็บคำสั่งไว้ในที่พักข้อมูลแล้วส่งไปที่หน่วยถอดรหัส
 3. Decode Unit เป็นหน่วยที่แปลคำสั่งเพื่อนำไปประมวลผล
 4. Execution Unit เป็นหน่วยที่ทำการประมวลผลประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ๆ คือ
4.1 Control Unit เป็นหน่วยควบคุมการสั่งการให้ข้อมูลเป็นไปตามลำดับที่กำหนดไว้
4.2 Protection Test Unit เป็นหน่วยตรวจสอบความผิดพลาด (Error)
4.3 Registers เป็นหน่วยความจำใช้เก็บข้อมูลชั่วคราวขณะที่ทำการประมวลผล

4.4 Arithmetic Logic Unit (ALU) เป็นหน่วยคำนวณและตรรกะ

ความหมายของหน่วยประมวลผลกลาง

ซีพียู (CPU) หรือ Central Processing Unit  หมายถึง “หน่วยประมวลผลกลาง” หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ตามชุดคำสั่งที่มาจากซอฟต์แวร์ ตัวของซีพียูนั้น มีลักษณะเป็นชิป (Chip) ตัวเล็กๆ ซึ่งภายในบรรจุทรานซิสเตอร์จำนวนหลายล้านตัว ต่อเข้าเป็นวงจรอิเล็คทรอนิคส์จำนวนมหาศาล มีหน้าที่คำนวณตัวเลขจากชุดคำสั่งที่ผู้ใช้ป้อนโปรแกรมเข้าไป โดยซีพียูจะทำการอ่านชุดคำสั่งมาแปลความหมาย และทำการคำนวณ เมื่อได้ผลลัพธ์ก็จะส่งผลลัพธ์ออกไปแสดงผลทางหน้าจอ ซีพียูจึงเปรียบเสมือนกับ สมอง ของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานหลักของเครื่อง ทำหน้าที่ในการคำนวณ ประมวลผล และควบคุมอุปกรณ์อื่นๆในระบบ ประกอบด้วยหน่วยย่อย 3 หน่วย คือหน่วยความจำหลัก หน่วยคณิตศาสตร์และตรรกะหรือหน่วยคำนวณ  และหน่วยควบคุมอีกทั้งยังควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อื่นๆในระบบอีกด้วย

ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศ

ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศ




1. 
ระบบเอทีเอ็ม เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสบายอย่างมากให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคารและเป็นตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศทีได้รับการนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันทางธุรกิจ





2. การลงทะเบียนเรียน ในระบบการลงทะเบียนของสถานศึกษา มีการเปี่ยนแปลงและทำให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา สามารถเรียกใช้หรือตรวจสอบได้ทันที ข้อมูลเหล่านี้จะนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษาต่าง ๆเช่น การจัดตารางสอน การจัดห้องสอบ การปรับปรุงข้อมูลคะแนน รวมถึงการรายงานผลต่าง ๆ




3.การบริการและการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต การเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้มีผู้ใช้งานกันอย่างกว้างขวาง เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงกันทั่วโลก ทำให้การสื่อสารระหว่างกันบนอินเทอร์เน็ตทำได้ง่ายและค่าใช้จ่ายที่ตํ่ากว่าระบบการสื่อสารแบบอื่น 

ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ

                  ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับความสนใจนำมาใช้งานในหลายลักษณะและเกือบทุกธุรกิจ โดยที่พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศได้ส่งผลกระทบในวงกว้างไปทุกวงการทั้งภาคเอกชนและราชการ ระบบสารสนเทศช่วยสร้างประโยชน์ต่อการดำเนินงานขององค์กรได้ดังนี้

          1. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์เนื่องจากข้อมูลถูกจัดเก็บและบริหารอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วในรูปแบบที่เหมาะสมและสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ทันต่อความต้องการ
          2. ช่วยในการกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์และการวางแผนปฏิบัติการ โดยผู้บริหาร
สามารถนำข้อมูลที่ได้จากระบบสารสนเทศมาช่วยในการวางแผนและกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานเนื่องจากสารสนเทศถูกรวบรวมและจัดการอย่างเป็นระบบ ทำให้มีประวัติของข้อมูลอย่างต่อเนื่อง สามารถที่จะบ่งชี้แนวโน้มของการดำเนินงานว่าน่าจะเป็นไปในลักษณะใด
          3. ช่วยในการตรวจสอบการดำเนินงาน เมื่อแผนงานถูกนำไปปฏิบัติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ผู้ควบคุมจะต้องตรวจสอบผลการดำเนินงานโดยนำข้อมูลบางส่วนมาประมวลผลเพื่อประกอบการประเมิน สารสนเทศที่ได้จะแสดงให้เห็นผลการดำเนินงานว่าสอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการเพียงไร

          4. ช่วยในการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตูของปัญหา ผู้บริหารสามรถใช้ระบบสารสนเทศประกอบการศึกษาและการค้นหาสาเหตุ หรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการดำเนินงาน ถ้าการดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยอาจจะเรียกข้อมูลเพิ่มเติมออกมาจากระบบ เพื่อให้ทราบว่าความผิดพลาดในการปฏิบัติงานเกิดขึ้นจากสาเหตุใด หรือจัดรูปแบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ปัญหาใหม่

          5. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อหาวิธีควบคุม ปรับปรุงและแก้ไขปัญหา สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลจะช่วยให้ผู้บริหารวิเคราะห์ว่าการดำเนินงานในแต่ละทางเลือกจะช่วยแก้ไขหรือควบคุมปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างไร ธุรกิจต้องทำอย่างไรเพื่อปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนงานหรือเป้าหมาย

          6. ช่วยลดค่าใช้จ่าย ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพช่วยให้ธุรกิจลดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการทำงานลง เนื่องจากระบบสารสนเทศสามารถรับภาระงานที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก ตลอดจนช่วยลดขั้นตอนในการทำงาน ส่งผลให้ธุรกิจสามารถลดจำนวนคนและระยะเวลาในการประสานงานให้น้อยลง โดยผลงานที่ออกมาอาจเท่าหรือดีกว่าเดิม ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจ

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ


มี องค์ประกอบ ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล บุคลากร และขั้นตอนการปฏิบัติงาน 
ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง 

ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน 

ข้อมูล เป็นส่วนที่จะนำไปจัดเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์ 

บุคลากรเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์ 

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าใจเพื่อให้ทำงานได้ถูกต้องเป็นระบบ

ความหมายและลักษณะของสารสนเทศ


เทคโนโลยีและสารสนเทศ

ความหมายของสารสนเทศ

               ระบบสารสนเทศ (Information System ) หมายถึง ระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ หรือจัดการกับข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ข้อมุลนั้นกลายเป็นสารสนเทศที่ดี สามารนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็วและถูกต้อง

                                                                 ลักษณะของระบบสารสนเทศที่ดี



1.มีความถูกต้องแม่นยำ (accuracy) สารสนเทศที่ดีจะต้องตรงกับความเป็นจริงและเชื่อถือได้ สารสนเทศบางอย่างมีความสำคัญ หากไม่ตรงกับความเป็นจริงแล้ว อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ สารสนเทศที่ถูกต้องแม่นยำจะต้องเกิดจากการป้อนข้อมูลรวมถึงโปรแกรมที่ประมวลผลจะต้องถูกต้อง 

2. ทันต่อเวลา (timeliness) สารสนเทศที่ดีต้องทันต่อการใช้งาน หมายถึง ข้อมูลที่ป้อนให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องมีความเป็นปัจจุบันทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ตัวอย่างเช่น ข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ปกครองนักเรียน จะต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัย หากหมายเลขโทรศัพท์ล้าสมัยก็จะไม่สามารถติดต่อกับผู้ปกครองได้หากเกิดกรณีฉุกเฉิน 


3. มีความสมบูรณ์ครอบถ้วน (complete) สารสนเทศที่ดีจะต้องมีความครบถ้วน สารสนเทศที่มีความครบถ้วนเกิดจากการเก็บข้อมูลได้ครบถ้วน หากเก็บข้อมูลเพียงบางส่วนก็จะไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสารสนเทศได้เต็มประสิทธิภาพ ตัวอย่าง เช่น ข้อมูลนักเรียน ก็จะต้องมีการเก็บรายละเอียดเกี่ยวกับนักเรียนให้ได้มากที่สุด เช่น ชื่อ อายุ ที่อยู่ ชื่อผู้ปกครอง หมายเลขโทรศัพท์ โรคประจำตัว คะแนนที่ได้รับในแต่ละวิชา เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ครูสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ หากไม่มีข้อมูลของหมายเลขโทรศัพท์ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินก็จะไม่สามารถติดต่อกับผู้ปกครองได้เช่นเดียวกัน 


4. มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ (relevancy) สารสนเทศจะต้องสอดคล้องกับความต้องการของผุ้ใช้ กล่าวคือ การเก็บข้อมูลต้องมีการสอบถามการใช้งานของผู้ใช้ว่าต้องการในเรื่องใดบ้าง จึงจะสามารถสรุปสารสนเทศได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด ตัวอย่างเช่น หากต้องการเก็บข้อมูลของนักเรียนก็ต้องถามครูว่าต้องการเก็บข้อมูลใดบ้าง เพื่อให้ครูสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง 


5. สามารถพิสูจน์ได้ (verifiable) สารสนเทศที่ดีจะต้องตรวจสอบแหล่งที่มาได้ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้ตรวจสอบความถูกต้องของสารสนเทศได้